พินัยกรรม

Last updated: 16 พ.ค. 2567  |  401 จำนวนผู้เข้าชม  | 

พินัยกรรม


                                                                                       พินัยกรรม

              พินัยกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทย  กำหนดให้พินัยกรรมมี 5 รูปแบบด้วยกัน   แต่ที่ใช้กันอยู่มีแค่ 3 รูปแบบแคนั้นเองครับ  มี

            1. แบบทั่วไปซึ่งคนทั่วไปนิยมไปให้ทนายความหรือนักกฎหมาย เช่น นิติกร ทำให้  แต่ความจริงใครก็ได้ที่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ ซึ่งส่วนใหญ่คนทำจะพิมพ์ข้อความลงไปก่อน  แล้วผู้ทำพินัยกรรมก็ลงชื่อในพินัยกรรม  มีพยานอย่างน้อย 2 คน ลงชื่อขณะที่ทำพินัยกรรมนั้น   แต่ห้ามผู้รับพืนัยกรรมลงชื่อเป็นพยาน  หรือลงชื่อเป็นผู้รับพินัยกรรม  ถ้าลงชื่อก็เป็นโมฆะทันที    ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์. มาตรา 1656

           2.  แบบเขียนเองทั้งฉบับ  แบบนี้ผู้ทำพินัยกรรมต้องเขียนด้วยลายมือตนอง   จะให้คนอื่นพิมพ์ข้อความไปให้ไม่ได้  โดยสาระสำคัญที่ต่างจากข้อ1. คือแบบนี้ไม่ต้องมีพยานก็ได้  แต่มีก็ไม่เสียหายอะไร  ที่สำคัญผู้ทำพินัยกรรมต้องเขียนหนังสือได้นะครับ ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1657

           3.  แบบเอกสารฝ่ายเมือง  โดยผู้ทำพินัยกรรมต้องไปที่สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอ ไปแจ้งความประสงค์ให้ปลัดอำเภอทราบ  อีกอย่างต้องนำพยาน 2 คนไปด้วยนะครับ  ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1658  แบบนี้ดูศักดิ์สิทธิ์น่าเชื่อถือดี  

         ทั้ง 3 รูปแบบนี้  ผู็รับพินัยกรรมรวมทั้งคู่สมรสของผู้รับพินัยกรรม  ห้ามลงชื่อเป็นพยาน  ห้ามลงชื่อเป็นผู้รับพินัยกรรม   แต่อยู่ในสถานที่ขณะทำพินัยกรรมได้นะครับ     หลายท่านเข้าใจผิดว่า  ผู้รับพินัยกรรมจะอยู่ด้วยในขณะที่ทำพินัยกรรมไม่ได้   อยู่ได้นะครับ  เขาไม่ได้ห้าม

         ส่วนอีก 2 รูปแบบคือแบบลับ และแบบพฤติการณ์พิเสษนั้น  ไม่ค่อยพบหรือแทบไม่มีใครใช้เลยนะครับ  ผมเลยไม่ขอพูดถึง

                                                   

                                                                        ..ทนายกฤษณะ

   

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้