อภิสิทธิ์

อภิสิทธิ์

ผู้เยี่ยมชม

pm513510@gmail.com

  พินัยกรรม การจัดการมรดก (1112 อ่าน)

22 ก.ค. 2555 21:51

กระผม มีปัญหาในเรื่องจัดการทรัพย์สิน ของบิดาครับ จึงมาขอปรึกษาปัญหาทางกฎหมายครับ
บิดากระผม ได้เสียชีวิตและได้ทำพินัยกรรม (ฝ่ายการเมืองไว้ที่เขตลาดพร้าว) โดยมีข้อความระบุว่า ทรัพสินคือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างนี้โดยมีชื่อกรรมสิทธิ์คือพ่อผมคนเดียวในโฉนดขอยกให้กระผม แต่เพียงผู้เดียวและขอแต่งตั้งให้กระผมเป็นผู้จัดการมรดกมีอำนาจตามกฎหมายทุกประการ นั้น
กระผมก็ดำเนินไปร้องขอต่อศาลเป็นผู้จัดการมรดก แต่ฝ่ายภรรยาซึ่งมีทะเบียนสมรส จะมาขอร่วมแต่กระผมไม่ยินยอม เพราะเขามีเจตนาที่จะปกปิด และปิดบัง เงินในบัญชีของพ่อโดยไม่แสดงให้ทุกคนได้รับรู้ ในทรัพย์ของพ่อ เพื่อมีเจตนาจะเก็บไว้คนเดียว กระผมมีพี่น้องรวมกัน 3 คน และเขาเป็นภรรยา 1คน สรุปว่ามีผุ้มีส่วนได้เสียรวมกันแล้ว 4 คน
การกระทำ ของภรรยา 1 เขาไม่ได้แจ้งเรื่องบัญชีธนาคารของพ่อให้พวกกระผมรวมพี่น้อง ทราบเลยและยังแอบไปกดเงินสดทางบัตรเอทีเอ็มจำนวนเงินออกมาเก็บไว้เป็นของตัวเอง ประมาณ แสนกว่าบาท จนผมไปถามทางธนาคารจึงรู้และทำการอายัคไว้แล้วนั้น ซึ่งการกระทำดังกล่าวนี้ จะเป็นขออ้างในการที่จะไม่ยินยอมให้เขา มาร่วมเป็นผุ้จัดการมรดกได้ไหมครับ
เหตุผล ที่จะไม่ให้ร่วมนั้น กลัวว่า จะมามีปัญหาทะเลาะกันและไม่สามารถตกลงกันได้ ในเมื่อเขาไม่มีเจตนาที่จะมาแบ่งให้พวกกระผมอยู่แล้ว จึงขอคำแนะนำด้วยครับ
ข้อ2 โฉนดบ้านและที่ดิน เขาก็จะมาค้านเรื่อง กรรมสิทธิ์รวม โดยที่เขาได้อยู่กินกันมาก่อน สมรส ตามรายระเอียด ดังนี้ ครับ
โฉนดที่ดิน ได้มา ปี 2519 โดย พ่อของพ่อ ผม ขายให้ ในราคา พ่อ ขายให้ลูก โดยกรรมสิทธิ์ในโฉนดในตอนนั้น เป็นชื่อ ของนางจำปี เจ้าของที่ดิน 100 ตารางวา ปู่ของผม หมายถึง พ่อของพ่อผม ซื้อมาและมาแบ่งให้พ่อผม คนละ50
ตารางวากับปุ่และโอนแบ่งแยกโฉนดกันเป็นสองฉบับ ฉบับหนึ่งชื่อ ของปู่ และอีกฉบับ ชื่อของพ่อ คือเอาเงินพ่อผมมาจ่ายให้เจ้าของที่ ในส่วนที่ปู่ขาดเงินที่จะโอน คือขายแบบให้ลูกช่วยเงินตามจำนวนขาด เท่านั้น เงินในตอนนั้นพ่อผมเป็นคนขยัน
และเก็บเงินเก่ง จึงเป็นเงินของพ่อผมซึ่งเก็บมาและเอามาซื้อ และได้ขออนุญาตสร้าง อาคาร ในปี 2522 ขอหมายเลขบ้านหลังปลูกเสร็จ เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2522 ซึ่งแสดงว่าพ่อได้ปลูกบ้านเสร็จแล้ว ต่อมาเมื่อปี 2523 ประมาณเดือน
กรกฎาคม พ่อได้เอาบ้านและที่ดินนี้ ไปจำนองกับธนาคาร โดยมีชื่อภรรยาร่วมด้วย ในการเข้าจำนองครั้งนั้น แต่คงจะไม่ใช่วัตถุประสงค์ในการกู้ซื้อบ้านและที่ดิน แน่นอน เพราะบ้านมีมาก่อนแล้ว พ่อได้มาไถ่ถอน ออกจากธนาคารในปี 2531
โดยกรรมสิทธิ์ในโฉนดก็ระบุชื่อ พ่อผมคนเดียว ไม่ได้นำชื่อ ภรรยา ร่วมด้วย ซึ่งพ่อจะกระทำก็ทำได้ เมื่อปี 2532 พ่อกับภรรยา จึงตกลงมาจดทะเบียน สมรสกันกับภรรยาคนนี้ โดยที่ไม่ได้ระบุทรัพย์สินลงไปในรายการบันทึก หลังทะเบียนสมรส
แสดงให้เห็นว่า ทรัพย์สินที่ดินพร้อมบ้านนี้ เป็นของพ่อ โดยภรรยาไม่ได้มีข้อโต้แย้งและทำสัญญาร่วมในกรรมสิทธิ์แต่อย่างใด พ่อจึงมาทำพินัยกรรม ยกให้ผมซึ่งเป็นลูก โดยชอบธรรม ส่วนภรรยาตอนนี้ อายุ 69 ปี แล้วไม่มีบุตรด้วยกัน
ในการเปิดพินัยกรรม กระผมได้ทำการเปิดหลังจากพ่อผม ได้เสียชีวิตลงแล้ว และมีพยายรู้เห็น ประมาณ 20 กว่าคน ภรรยาได้แจ้งว่า มีเงินของพ่อเหลืออยู่แค่ 80000 บาท และกระผม ก็แสดงเจตนาว่า ให้เขาอยู่บ้านหลังนี้จนตาย ส่วนเงิน
ของพ่อที่บอก ผมและพี่น้อง ยินดียกให้เขาทั้งหมด ในวันนั้น ผุ้มีส่วนได้เสียในกองมรดก อยู่กันครบ ตกลงกันไปตามนั้น ด้วยคำพูด แต่ไม่ทราบด้วยเหตุใด เขาจึงมาเปลี่ยนแปลงคัดค้าน ในกระบวนการยุติธรรม ถ้าในวันนั้นเขามีส่วนร่วมในการได้มาวึ่งทรัพย์นี้ ทำไมเขาจึงไม่แสดงออกมา
และไม่คัดค้านใดๆๆเลย ก็แสดงให้เห็นว่า ทรัพย์นี้เป็นทรัพย์ที่พ่อผมได้หามา ด้วยเงินตัวเอง ครับ สรุปเรียนถาม ท่านทนายว่า แนวทางในการชั้นศาลผมควรทำอย่างไร ก่อน และหลัง เพื่อให้คดีเป็นไปในทางที่ถูกต้องครับ
ขอขอบพระคุณอย่างสูง ด้วยความเคารพ

14.207.151.211

อภิสิทธิ์

อภิสิทธิ์

ผู้เยี่ยมชม

pm513510@gmail.com

ทนายกฤษณะ

ทนายกฤษณะ

ผู้เยี่ยมชม

krish1936@gmail.com

22 ก.ค. 2555 22:34 #1

พินัยกรรมระบุไว้เช่นนั้น คุณก็ย่อมได้เปรียบ แต่ต้องให้ทายาทที่เหลือทั้งหมด ลงชื่อยินยอมให้คุณเป็นผู้จัดการมรดกเพียงคนเดียว ไม่ต้องการให้เมียใหม่ของพ่อเป็นผู้จัดการมรดก

124.122.28.231

ทนายกฤษณะ

ทนายกฤษณะ

ผู้เยี่ยมชม

krish1936@gmail.com

ตอบกระทู้
CAPTCHA Image
Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้